เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2568 ณ ห้องแอสเตอร์ บอลรูม โรงแรมเดอะ เซนต์ รีจิส กรุงเทพมหานคร
ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) และ ดร.วิศาล ลีละวิวัฒน์ นักวิจัยอาวุโส ร่วมงาน Airbus Special Industry Outreach ซึ่งรวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญเพื่อหารือเกี่ยวกับอนาคตของการบินที่ยั่งยืนในประเทศไทย
ในงานนี้ คุณ Julie Kitcher ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนของ Airbus กล่าวถึงโอกาสที่ประเทศไทยจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการบินที่ยั่งยืนผ่านการใช้เทคโนโลยีไฮโดรเจน เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) และกลยุทธ์การลดคาร์บอน โดยเน้นความสำคัญของการพัฒนาอากาศยานรุ่นใหม่ เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย อย่างเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน และการส่งเสริมการใช้ SAF
ภายในงาน คุณ Kitcher กล่าวว่า “SAF มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการลดการปล่อยมลพิษในภาคการบิน โดยมีศักยภาพในการลดการปล่อย CO2 ได้ถึง 80%” พร้อมเผยว่า Airbus ได้ตั้งเป้าหมายที่ท้าทายให้เครื่องบินของบริษัทรองรับการใช้ SAF ได้ 100% ภายในปี 2573 อย่างไรก็ดี เธอได้ยอมรับว่าต้นทุนการผลิตที่สูงและอุปทานที่จำกัดยังคงเป็นความท้าทายในระยะสั้น2 emissions by up to 80%,” Kitcher noted. Airbus has set an ambitious goal to ensure its aircraft are fully SAF-compatible by 2030. However, she acknowledged that high production costs and limited supply remain key short-term obstabcles.
ด้าน ดร.เสกสรร พรหมนิช กรรมการจากกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพที่แข็งแกร่งของประเทศไทยในการผลิต SAF โดยเฉพาะจากน้ำมันประกอบอาหารใช้แล้วและกระบวนการที่มีเอทานอลเป็นพื้นฐาน พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ โดยอ้างถึงร่างแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP2024) และแผนน้ำมัน 2567 (Oil plan 2024) ซึ่งกำหนดเป้าหมายการผสม SAF 1% ภายในปี 2569
ซึ่งการสนับสนุนจากรัฐบาล การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และความร่วมมือในภาคอุตสาหกรรมล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตและส่งออก SAF รายใหญ่ในอนาคต


