Knowledge

รถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารับจ้างสาธารณะ เชื่อมต่อการเดินทางสู่ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ

ในปัจจุบันระบบขนส่งมวลชนสาธารณะมีการขยายการให้บริการและครอบคลุมพื้นที่ในเขตเมืองและชานเมืองมากขึ้น อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้บริการในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังต้องการเชื่อมต่อการเดินทางสู่ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะหรือการเดินทาง First Mile / Last Mile เพื่อทดแทนการใช้ยานยนต์ส่วนบุคคลได้เต็มรูปแบบดังแสดงในรูปที่ 1 รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะจึงเข้ามามีบทบาทในกรณีนี้ รูปที่ 1 รูปแบบการบริการของรถจักรยานยนต์ First / Last Mile อย่างไรก็ตามรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ หรือพี่วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างในปัจจุบัน ยังใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ที่ยังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่ำ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและก๊าซไอเสียสู่บรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศและวิกฤตภาวะโลกร้อน ด้วยเหตุนี้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษทางอากาศได้ อย่างไรก็ตาม รถจักรยานยนต์ไฟฟ้ายังมีข้อจำกัดในเรื่องของการชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่ต้องใช้ระยะเวลาในการชาร์จ ต้นทุนราคารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่รวมแบตเตอรี่ที่มีมูลค่าสูง และภาระค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแบตเตอรี่เมื่อหมดอายุหลังการใช้งาน ดังนั้นศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงต่อยอดการสนับสนุนการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเป็นรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ ร่วมกับเครือข่ายงานวิจัยจากภาครัฐและเอกชนนำเสนอ แพล็ตฟอร์มการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่เพื่อผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารับจ้างสาธารณะ ในวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ด้วยการเปลี่ยนมูลค่าการถือครองแบตเตอรี่ในต้นทุนราคารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเป็นการใช้บริการแพล็ตฟอร์มการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ ในต้นทุนค่าใช้จ่ายเทียบเท่ากับค่าน้ำมันสำหรับการใช้รถจักรยานยนต์เครื่องยนต์ จุดเด่นเทคโนโลยี / และการติดตามวัดผลแพล็ตฟอร์มการสับเปลี่ยนแบเตอรี่มีความเหมาะสมกับการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าต่อเนื่องเพื่อการประกอบอาชีพรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ ในประเทศไทยได้มีการให้บริการสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่แสดงดังรูปที่ 2 ซึ่งในโครงการต่อยอดมีสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ให้บริการครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลกว่า 40 สถานี ดังแสดงในรูปที่ 3  (ก) (ข) รูปที่ 2 สถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ […]

รถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารับจ้างสาธารณะ เชื่อมต่อการเดินทางสู่ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ Read More »

แผงเซลล์แสงอาทิตย์น้ำหนักเบากึ่งส่องผ่านแสง

แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีขายทั่วไปมีน้ำหนักมาก ทึบแสง ในการติดตั้งบนหลังคาต้องมีโครงรองรับ มีข้อจำกัดในการติดตั้งบนหลังคาบางประเภท งานวิจัยนี้จึงพัฒนาแผงน้ำหนักเบา ที่ติดตั้งง่ายสะดวกในการขนย้ายและมีการส่องผ่านแสงบางส่วนเพื่อโอกาสในการประยุกต์ใช้ในการเกษตรในรูปแบบ Agrivoltaic จุดเด่นเทคโนโลยีน้ำหนักเบากว่าแผงฯมาตรฐานทั่วไปประมาณ 25% (8.6 kg/m2) ขนย้ายและติดตั้งง่าย แข็งแรง มีลักษณะกึ่งส่องผ่านแสง จึงสามารถประยุกต์ใช้งานอื่นๆได้ เช่น หลังคาโรงเรือนการเกษตร การนำไปใช้ / การถ่ายทอดเทคโนโลยี / ประโยชน์ที่ได้รับ การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing) “แผงเซลล์แสงอาทิตย์น้ำหนักเบาสำหรับการติดตั้งที่ง่าย” เลขที่คำขอสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ 2101005940   การร่วมวิจัยหรือรับจ้างวิจัยเพื่อต่อยอดแผงน้ำหนักเบากึ่งโปร่งแสง คุณสมบัติของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการธุรกิจประกอบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (PV module assembly), ธุรกิจติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ (PV installer), ธุรกิจด้านการก่อสร้างและตกแต่ง  หรือธุรกิจด้านพลังงานทดแทนที่มีความพร้อมเรื่องช่องทางจำหน่าย  ความร่วมมือที่เสาะหา รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปผลิตแผงเพื่อจำหน่าย  หรือร่วมกันพัฒนาแผงเวอร์ชั่นใหม่ สถานภาพของผลงานวิจัย ต้นแบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์น้ำหนักเบามีกำลังไฟฟ้าสูงสุด 30 W (100W/m2) น้ำหนัก 2.5 Kg (8.6 kg/m2 ) ขนาด 39 cm

แผงเซลล์แสงอาทิตย์น้ำหนักเบากึ่งส่องผ่านแสง Read More »

“ENcase” เครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้ออิเล็กโทรไลต์

ดร.สมศักดิ์ สุภสิทธิ์มงคล และคณะ 1 ได้พัฒนาเครื่อง ENcase สำหรับผลิตน้ำยาอิเล็กโทรไลต์ ENERclean ใช้สำหรับฆ่าเชื้อ น้ำยา ENERclean ผลิตจากเกลือแกง และผ่านมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคโดยมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น พ่นขยะติดเชื้อ พ่นทำความสะอาดพื้นผิวทั่วไป พ่นทำความสะอาดมือ หรือแม้กระทั่งล้างเนื้อสัตว์ พืชผัก และผลไม้ได้อีกด้วย ในช่วงที่ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังประสบกับวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) วัสดุอุปกรณ์สำหรับป้องกันและฆ่าเชื้อโรคขาดแคลนอย่างหนัก ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้คนในวงกว้าง ดร.สมศักดิ์ สุภสิทธิ์มงคล และคณะ จากศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) ได้นำความรู้พื้นฐานทางด้านวัสดุศาสตร์และไฟฟ้าเคมีมาประยุกต์ในการสร้างเครื่องมือผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อโรค โดยทีมวิจัยได้ทดลองเบื้องต้นภายในห้องปฏิบัติการ และพบว่าสามารถใช้งานได้จริง ประจวบกับมีหน่วยงานประกาศให้ทุน ทีมวิจัยจึงยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุน 2  ดังกล่าว แนวคิดและหัวใจสำคัญของเทคโนโลยี ดร.สมศักดิ์ เล่าถึงแนวคิดว่า “ในช่วงแรกที่เกิดวิกฤตโควิด-19 น้ำยาฆ่าเชื้ออย่างแอลกอฮอล์ หรือสารฟอกขาวขาดตลาด ผมก็เลยเกิดแนวคิดที่จะนำความรู้เรื่องเซลล์ไฟฟ้าเคมีมาประยุกต์ใช้ โดยดัดแปลงระบบของเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cells) 3 ให้กลายเป็นเครื่องที่ผลิตสารอื่นตามที่เราต้องการ เราทดลองเปลี่ยนตัวกลางจากเดิมที่เป็นน้ำมาเป็นสารชนิดอื่น และเมื่อใส่กระแสไฟฟ้าเข้าไปก็จะเกิดการแตกตัว แต่หัวใจสำคัญคือจะสามารถแยกสารที่เกิดจากการแตกตัวนั้นได้อย่างไร”

“ENcase” เครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้ออิเล็กโทรไลต์ Read More »

Solar cell power

By Dr. Amornrat Limmanee, Solar Photovoltaic Team Leader of Solar Photovoltaic Research Team,Energy Innovation Research  Group of ENTEC Interviewed by Dr. Buncha Thanaboonsombut Article by Mrs. Orawan Sumriddetkajorn Q: Could you tell us about your educational background? We have known that you studied high school in Japan, right? A:  After I graduated from junior high

Solar cell power Read More »